ประกาศนียบัตรชีวภาพสู่เกษตรยั่งยืน
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็มภาษาไทย ประกาศนียบัตรชีวภาพสู่เกษตรยั่งยืน
ชื่อย่อภาษาไทย ป. (ชีวภาพสู่เกษตรยั่งยืน)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Diploma Program in Biology for Sustainable Agriculture
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ Dip. (Biology for Sustainable Agriculture)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 18 หน่วยกิต
รายวิชาและหน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | หมวดวิชา |
---|---|---|---|
SAG301 | การผลิตสาหร่ายเศรษฐกิจ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
SAG302 | การเพาะและแปรรูปเห็ดเศรษฐกิจ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
SAG304 | ดินและวัสดุปลูก | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
SAG308 | การจัดการวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
SAG316 | การผลิตพืชอินทรีย์ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
SAG317 | การผลิตและแปรรูปแมลงกินได้ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
-
SAG301 การผลิตสาหร่ายเศรษฐกิจ
-
SAG302 การเพาะและแปรรูปเห็ดเศรษฐกิจ
-
SAG304 ดินและวัสดุปลูก
-
SAG308 การจัดการวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร
-
SAG316 การผลิตพืชอินทรีย์
-
SAG317 การผลิตและแปรรูปแมลงกินได้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านการผลิตสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและ การใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือ
2) เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการผลิตสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
3) เพื่อให้ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบ
4) เพื่อให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและทักษะการทำงานของบุคคลใน ทุกช่วงวัยซึ่งมี ความแตกต่าง หลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยให้มีการเทียบโอนได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การจัดกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรนี้มีความยืดหยุ่นและ ความหลากหลายใน เรื่องรูปแบบและ วิธีการ เช่น การบรรยาย อภิปราย ภาคปฏิบัติ การเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนแบบ MOOCs ประกอบด้วยการดูวิดีทัศน์ด้วยตนเอง เก็บแต้มสะสมการเรียนรู้ ส่งคำถามท้ายบทเรียน และแบบทดสอบเมื่อสิ้นสุดรายวิชา รวมทั้งการศึกษานอกสถานที่กับสถานประกอบการที่มีการทำ MOU ร่วมกัน สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนและบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละรายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรโดยรวม และมีระยะเวลาการเรียนรู้ตาม มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำหนด (ข้อ 9) มีการสะสมผลการเรียนรู้ในระบบ คลังหน่วยกิต และเทียบโอนเข้าสู่การศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
คณะผู้สอน

ผศ.จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา

อาจารย์ชวนพิศ เรืองจรัส

อาจารย์ดอกรัก ชัยสาร

ผศ.พัชรี หลุ่งหม่าน

อาจารย์มิติ เจียรพันธุ์

ผศ.วีณา จิรัตฐิวรุตม์กุล ชัยสาร

อาจารย์ศักดิ์ชัย กรรมารางกูร
ค่าใช้จ่าย
เหมาจ่าย 0 บาท
