ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็มภาษาไทย ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน
ชื่อย่อภาษาไทย ป.กฎหมายมหาชน
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Diploma Program in Public Law
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ Dip. (Public Law)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 24 หน่วยกิต
รายวิชาและหน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | หมวดวิชา |
---|---|---|---|
LLA4103 | หลักกฎหมายมหาชน | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
LLA4104 | รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
LLA4305 | หลักกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
LLA8307 | กฎหมายปกครองและการพัฒนาท้องถิ่น | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
LLA0531 | สัมมนากฎหมายมหาชน | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
LLA0538 | กฎหมายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
LLA0529 | กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
LLA0530 | กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการคลังภาครัฐ | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
-
LLA4103 หลักกฎหมายมหาชน
-
LLA4104 รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
-
LLA4305 หลักกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
-
LLA8307 กฎหมายปกครองและการพัฒนาท้องถิ่น
-
LLA0531 สัมมนากฎหมายมหาชน
-
LLA0538 กฎหมายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
LLA0529 กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
-
LLA0530 กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการคลังภาครัฐ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มีความรู้ทางทฤษฎีและทักษะเชิงปฏิบัติ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ดิจิทัลในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงปัญหาข้อกฎหมายอย่างมีเหตุผล
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและมีนิติทัศนะคุณธรรมและจริยธรรม
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน ท้องถิ่น
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและทักษะการทำงานของบุคคลในทุกช่วงวัยซึ่งมีความแตกต่าง หลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยให้มีการเทียบโอนได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การจัดกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชนนี้มีความยืดหยุ่นและความหลากหลายในเรื่องรูปแบบและวิธีการ เช่น การบรรยายประกอบ Powerpoint และการอภิปราย ศึกษาจากสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา สถานการณ์ข่าวและเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยสอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนและบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละรายวิชาและผลลัพธ์การเรียบรู้ของหลักสูตรโดยรวม และมีระยะเวลาการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำหนด มีการสะสมผลการเรียนรู้ในระบบคลังหน่วยกิต และเทียบโอนเข้าสู่การศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
จัดการเรียนการสอน แบบเรียนและสอบปลายภาคประเมินผลการศึกษาทีละรายวิชา (Block Course) จัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ (วันเสาร์ - อาทิตย์) วันละ 6 ชั่วโมง การจัดการศึกษาในจำนวน 3 หน่วยกิต จะต้องเรียนทฤษฎีไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง
จัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ (วันเสาร์ - อาทิตย์) มีระยะเวลาในการศึกษาไม่ น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษาปกติ
คณะผู้สอน

ผศ.นิรมล ยินดี

ผศ.นิรมล อุ้ยดำรงธรรม

ผศ.เพชร ขวัญใจสกุล

ผศ.รพี พิกุลงาม

ผศ.ศุภัทรชญา วีระกูล

ผศ.กิตติพิชญ์ โสภา

ผศ.ขวัญทยา บุญเชิด

รศ.จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ

ผศ.จุไรพร ชีพประสพ

ผศ.ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์

อาจารย์ฐานิตา อินทร์ดำ

ผศ.ณฐภัทร ถิรารางค์กูล

อาจารย์ทศพร จินดาวรรณ

ผศ.ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์

ผศ.นนทชัย โมรา

อาจารย์นพดล ทัดระเบียบ

ผศ.พงศกร ถิ่นเขาต่อ

อาจารย์พรอุมา วงศ์เจริญ

ผศ.พิชยา มณีนาวา

ผศ.ภูภณัช รัตนชัย

อาจารย์รัชนี สุขสวัสดิ์

ผศ.ธัญธกานต์ ปิ่นแก้ว

ผศ.วัฒนา คณาวิทยา

ผศ.ศิวัชทีปต์ จิรหิรัญธนากร

ผศ.สมชาย บุญคงมาก

รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง

อาจารย์สุชาดา ศรีใหม่

อาจารย์สุนิสา หาบสา

อาจารย์อชิรญาณ์ กลัดสวัสดิ์

อาจารย์อภิชาติ โกศล

อาจารย์อภิรดี กิตติสิทโธ

อาจารย์อภิศักดิ์ พุฒทอง

ผศ.อัคคกร ไชยพงษ์

รศ.สุจินตนา ชุมวิสูตร

รศ.มานิตย์ จุมปา

รศ.พินิจ ทิพย์มณี

ศ.(พิเศษ)จรัญ ภักดีธนากุล

รศ.พรชัย สุนทรพันธุ์

อาจารย์ชัยยุทธ ศรีจำนง

รศ.ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร

อาจารย์นิพันธ์ ช่วยสกุล

อาจารย์นรินทร ตั้งศรีไพโรจน์

ผศ.ธานี วรภัทร์
ค่าใช้จ่าย
เหมาจ่าย 16,000 บาท
