ประกาศนียบัตรบริการห้องสมุดและสารสนเทศในยุคดิจิทัล
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็มภาษาไทย ประกาศนียบัตรบริการห้องสมุดและสารสนเทศในยุคดิจิทัล
ชื่อย่อภาษาไทย ป.(บริการห้องสมุดและสารสนเทศในยุคดิจิทัล)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Diploma Program in Library and Information Services in Digital Age
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ Dip. (Library and Information Services in Digital Age)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 24 หน่วยกิต
รายวิชาและหน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต | หมวดวิชา |
---|---|---|---|
HIL0301 | การบริการห้องสมุดและสารสนเทศ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
HIL0302 | การออกแบบและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
HIL0304 | การบริหารห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
HIL0511 | การออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
HIL0205 | การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
HIL0303 | การจัดการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางสารสนเทศ สื่อและดิจิทัล | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
HIL0305 | การจัดการห้องสมุดดิจิทัล | 3(2-2-5) | วิชาเฉพาะ |
HIL0504 | การจัดการภูมิปัญญาและสารสนเทศท้องถิ่น | 3(3-0-6) | วิชาเฉพาะ |
-
HIL0301 การบริการห้องสมุดและสารสนเทศ
-
HIL0302 การออกแบบและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
-
HIL0304 การบริหารห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่
-
HIL0511 การออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล
-
HIL0205 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
-
HIL0303 การจัดการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางสารสนเทศ สื่อและดิจิทัล
-
HIL0305 การจัดการห้องสมุดดิจิทัล
-
HIL0504 การจัดการภูมิปัญญาและสารสนเทศท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริการห้องสมุดและสารสนเทศ และการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการบริการห้องสมุดและสารสนเทศและการจัดกิจกรรม การส่งเสริมการเรียนรู้โดยประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล
3. เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพ
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความฉลาดรู้ รู้สารสนเทศ รู้ดิจิทัล และรู้เท่าทันสื่อ
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การจัดกระบวนการเรียนรู้
การจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและทักษะการทำงานของบุคคล ในทุกช่วงวัยซึ่งมีความแตกต่าง หลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยให้มีการเทียบโอน ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การจัดกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) เน้นพฤติกรรมและการปฏิบัติของผู้เรียนที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความยืดหยุ่นและ ความหลากหลายในเรื่องรูปแบบและวิธีการ เช่น การบรรยาย อภิปราย ภาคปฏิบัติ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดที่สร้างการเรียนรู้นอกเหนือ จากรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งการอบรม การเรียนที่ได้จากการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนและบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละรายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรโดยรวม และมีระยะเวลาการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำหนด มีการสะสมผลการเรียนรู้ในระบบคลังหน่วยกิต และเทียบโอนเข้าสู่การศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องมีความหลากหลายให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ แล้วนำมากำหนดว่าแต่ละรายวิชาจะจัดกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร
คณะผู้สอน

อาจารย์กชพรรณ นุ่นสังข์

อาจารย์ธณิศา สุขขารมย์

อาจารย์ปิยะรัตน์ ภิรมแก้ว

อาจารย์สุพัฒน์ สีระพัดสะ

อาจารย์อมรรัตน์ แซ่กวั่ง

ผศ.เอพร โมฬี
ค่าใช้จ่าย
เหมาจ่าย 0 บาท
